ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โจเซอิ โทดะ

โจะเซ โทะดะ (ญี่ปุ่น: ?? ?? Josei Toda ?) เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2443 ใน จังหวัดอิชิกะวะเป็นนายกสมาคมโซกา งัคไค ท่านที่2 , ท่านได้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อสมาคม และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบูรณะ วัดใหญ่ไทเซขิจิ ให้มีสภาพที่ดีขึ้นหลังจากตกต่ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 จนถึงแก่มรณกรรมวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2501

โจะเซ โทะดะ นายกสมาคมสร้างคุณค่า คนที่2 เกิดที่ตำบลชิโอยะ ในเมืองคากะ จังหวัดอิชิกะวะ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 จากนั้นไม่นานครอบครัวทั้งหมดก็ได้ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านอะจึตะ จังหวัดฮอกไกโด สมรสกับ นางอิคุ โทะดะ ปัจจุบันครอบครัวโทะดะ นำโดยบุตรชายของโจะเซ โทะดะ คือ นายทะคะฮิสะ โทะดะ เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธนิชิเรน นิกายนิชิเรนโชชู โดยเป็นสมาชิกของวัดโจไซจิ อย่างเคร่งครัด แต่ก็มีสมาชิกบางคนในครอบครัวโทะดะ ที่คิดต่างกับนายทะคะฮิสะ โดยเป็นสมาชิกขององค์กรฆราวาส โซคา งัคไก[ต้องการอ้างอิง]

ปีพ.ศ. 2457 ได้เข้าเรียนชั้นประถมสามัญที่หมู่บ้านอะจึตะ จนสำเร็จการศึกษาโดยได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง ผู้ที่อยู่รอบข้างต่างสนับสนุนอย่างแข็งขันให้เรียนต่อ แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องช่วยเหลือทางบ้านจึงออกไปทำงานที่ร้านค้าในเมืองซัปโปโร ขณะเดียวกันก็พยายามศึกษาด้วยตนเองอย่างจริงจัง

เรียนด้วยความยากลำบากครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งปีพ.ศ. 2460 ก็สอบได้ตำแหน่งผู้ช่วยครูสอนโรงเรียนชั้นประถมสามัญ ปีถัดมาได้เป็นครูสอนชั่วคราวในโรงเรียนชั้นประถมมายาชิ ตำบลยูบาริในระหว่างที่ใช้ชีวิตยุ่งอยู่กับงานครู แต่จิตใจก็ยังคงเร่าร้อนมุ่งศึกษาให้สูงขึ้น จนกระทั่งได้รับใบอนุญาตให้เป็นครูสอนประจำของโรงเรียนชั้นประถมสามัญ นอกจากนี้ ยังได้รับใบอนุญาตให้เป็นครูสอนประจำในวิชาหลัก เช่น เคมี ฟิสิกส์ พีชคณิต และเรขาคณิต เป็นลำดับ ท่านได้สร้างฐานหลักของการเป็นนักศึกษาขึ้นมาจากการศึกษาด้วยตนเอง และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2463 ก็ได้ลาออกจากโรงเรียนชั้นประถมมายาชิ แล้วเดินทางไปยังกรุงโตเกียวแต่ลำพัง มีบันทึกอยู่ในสมุดบันทึกของอาจารย์โทะดะว่า ข้าพเจ้ายังไม่พบผู้ที่จะเป็นอาจารย์ของตัวเอง ยังไม่พบผู้ที่จะเป็นเจ้านายของตัวเอง การเดินทางมากรุงโตเกียวครั้งนี้ ถือว่ามาเพื่อแสวงหาอาจารย์แห่งชีวิตนั้นเอง

เมื่ออาจารย์โทะดะเดินทางมากรุงโตเกียว ท่านมีโอกาสพบกับนายกสมาคมโซคา ท่านแรก คืออาจารย์จึเนะซาบุโร่ มาคิงุจิ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนชั้นประถมนิชิมาจิ กรุงโตเกียว อาจารย์โทะดะได้เริ่มใช้ชีวิตของการเป็นครูสอนชั่วคราวในโรงเรียนเดียวกัน หลังจากนั้นเป็นต้นไป อาจารย์โทะดะก็ให้ความเคารพนับถือต่ออาจารย์มาคิงุจิเป็นอาจารย์แห่งชีวิตของตัวเอง และให้การค้ำจุนต่ออาจารย์มาคิงุจิตลอดมา และต่อมาในปีพ.ศ. 2471 ทั้งคู่ก็ได้เข้าศรัทธาในพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน

หลังจากเข้าศรัทธาในพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินแล้ว สมาคมสร้างคุณค่า ก็ได้โดนกลั่นแกล้งเรื่อยมา แต่เนื่องจากความไม่ท้อถอยของท่าน ทำให้มีสมาชิก3000ครอบครัว และเมื่อวันที่6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เจ้าหน้าที่ตำรวจก็มาจับกุมในข้อหา ขาดความเคารพต่อศาลเจ้าชินโตและฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสงบ หลังจากกักขังท่านได้3วันอาจารย์มาคิงุจิก็ถูกจับในข้อหาเดียวกัน ในขณะเดียวกันสมาชิกที่ถูกจับด้วยอีก19คนได้ยอมรับข้อสารภาพผิดและได้ถอนตัวออกไปจากสมาคม ซึ่งเหลือเพียงอาจารย์โทะดะและอาจารย์มาคิงุจิเท่านั้น ซึ่งท่านทั้งคู่ถูกขังอยู่ในคุกและอาจารย์โทะดะเองก็ได้รู้แจ้งในคุก ในปี พ.ศ. 2487 อาจารย์มาคิงุจิได้จบชีวิตที่สูงส่ง ในการอุทิศชีวิตของท่านเพื่อคำสอนเมื่อวันที่18 พฤศจิกายน ด้วยวัย73ปี ซึ่งก็เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ตรงกับวันก่อตั้งสมาคมพอดี แต่ทว่าอาจารย์โทะดะ ทราบข่าวการเสียชีวิตในภายหลัง คือวันที่8มกราคมของปีถัดไป

อาจารย์โทะดะ ใช้ชีวิตอยู่ในคุก2ปี ท่านออกจากคุกวันที่3กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ก่อนญี่ปุ่นแพ้สงครามครึ่งเดือน เมืองโตเกียวถูกทิ้งระเบิดครั้งแล้วครั้งเล่า มีสภาพเป็นเถ้าถ่าน ประชาชนทุกแสนสาหัสจากการกดดันของรัฐบาลทหาร มีผู้ถอยศรัทธามาก เหลือเพียงนายกสมาคมท่านที่2คนเดียวที่ยืดหยัดสืบทอดเจตนารมณ์ของนายกสมาคมท่านแรก และตั้งปณิธานด้วยจิตเข้มแข็งที่จะเผยแพร่ธรรมไพศาลต่อไป อาจารย์โทะดะ เริ่มลงมือฟื้นฟูสมาคมขึ้นมาใหม่ตามที่ตั้งใจ ท่านได้ตัดสินใจใช้สถานที่ชั้น2 ของบริษัทที่ท่านเป็นเจ้าของซึ่งอยู่ในนิชิคันดะ กรุงโตเกียว มาเคลื่อนไหว และปีต่อมาช่วงปีใหม่ ได้เริ่มบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และเริ่มจัดให้มีการสนทนาธรรม และเปิดอบรมฝึกอบรมภาคฤดูร้อนขึ้นมา นอกจากนี้ได้เปลี่ยนชื่อของสมาคมจากสมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า มาเป็นสมาคมสร้างคุณค่า ไม่เพียงแต่การปฏิรูปการศึกษาเท่านั้นแต่ยังมุ่งมั่นในการสร้างสันติภาพของโลก และความสุขของประชาชนทั้งหลายด้วย ในขณะที่เหตุการณ์กำลังดำเนินไป วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2490 อาจารย์ไดซาขุ อิเคดะ ก็ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของสมาคมโซคา ในขณะที่อาจารย์โทะดะดำเนินธุรกิจอยู่ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่สับสนหลังสงครามทำให้อาจารย์ถึงทางตัน อาจารย์โทะดะได้หันมาเริ่มงานในด้านสหกรณ์สินเชื่อ แต่ก็พบกับภาวะเลวร้าย พนักงานส่วนใหญ่ลาออกไปท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ อาจารย์อิเคดะเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่พยายามทำงานอย่างเคร่งแข็งเพื่อจะค้ำจุนอาจารย์โทะดะไว้

ต่อมาท่านได้เข้าไปจัดการกับเรื่องธุรกิจ ซึ่งมีนิมิตหมายเปลี่ยนแปลงไปในทางด้วยดี ท่านจึงตัดสินใจรับตำแหน่งเป็นนายกสมาคมสร้างคุณค่า ท่านที่ 2 ท่านได้ยืนหยัดเป็นผู้นำหัวแถว แห่งการเผยแผ่ธรรม ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งนายกสมาคม ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2494 ก็ได้ออกสิ่งที่พิมพ์ของสมาคม ชื่อว่า หนังสือพิมพ์เซเคียว เป็นปฐมฤกษ์ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการต่อสู้ทางความคิดในการเผยแผ่ธรรม จนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม ท่านจึงเข้ารับตำแหน่งนายกสมาคมโซคา ท่านที่ 2 และในการกล่าวปราศัยตอนนั้น ตัวท่ายเองได้ตั้งสัตยาธิษฐานไว้ว่า ในชั่วชีวิตของท่าน จะทำการชักชวนแนะนำธรรม ให้ได้ 7 แสน 5 หมื่น ครอบครัว ซึ่งตอนนั้นสมาคมมีสมาชิกประมาณ 3 พันคนเท่านั้น และไม่มีใครเชื่อว่าจะสำเร็จ แต่ด้วยการบัญชาของนายกสมาคมท่านที่ 2 สมาชิกก็เริ่มตื่นตัว ในการเผยแผ่ธรรมอย่างเข้มแข็ง อย่างจริงจัง ทำให้การเผยแผ่ธรรม ก้าวรุดหน้าไปด้วยดี

เนื่องจากการเผยแผ่ธรรมอย่างไม่หยุดยั้ง จนในปีพ.ศ. 2500 ทำให้มีสมาชิกเพิ่มมาเป็น7แสน5หมื่นครอบครัว อันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมา โดยมีไดซาขุ อิเคดะ เป็นผู้ช่วยในการเผยแพร่ธรรม และท่านได้มอบพินัยธรรมให้ไดซาขุ อิเคดะ เป็นนายกสมาคมสร้างคุณค่า สืบต่อเป็นคนที่3และอาจารย์โจะเซ โทะดะ ได้ถึงแก่มรณกรรมวัน 2เมษายน พ.ศ. 2501 สิริอายุ58ปี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187